สถานที่ตั้ง : อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
-
ตัวปราสาทหินพนมรุ้งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา
ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320
ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ ปราสาทพนมรุ้ง
มีประวัติหลายอย่างทางวัตถุทางธรรมชาติกว่า100000ปี
-
สะพานนาคราชเป็นทางเดินทั้งสองข้างประดับด้วยเสามียอดคล้ายดอกบัวตูมเรียกว่าเสานางเรียง จำนวนข้างละ
35 ต้น ทอดตัวไปยังสะพานนาคราช ซึ่งผังกากบาทยกพื้นสูง
ราวสะพานทำเป็นลำตัวพญานาค 5 เศียร สะพานนาคราชนี้
ตามความเชื่อเป็นทางที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับเทพเจ้า สิ่งที่น่าสนใจคือ
จุดกึ่งกลางสะพาน มีภาพจำหลักรูปดอกบัวแปดกลีบ อาจหมายถึงเทพประจำทิศทั้งแปด
ในศาสนาฮินดู หรือเป็นจุดที่ผู้มาทำการบูชา ตั้งจิตอธิษฐาน จากสะพานนาคราชชั้นที่ 1
มีบันไดจำนวน 52 ขั้นขึ้นไปยังลานบนยอดเขาที่หน้าซุ้มประตูระเบียงคดทิศตะวันออก
มีสะพานนาคราชชั้นที่ 2 ระเบียงคดก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกัน
เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบลานปราสาทแต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกันได้
เพราะมีผนังกั้นอยู่เป็นช่วง ๆ มีซุ้มประตูกึ่งกลางของแต่ละด้าน
ที่มุมระเบียงคดทำเป็นซุ้มกากบาท
-
ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งช่วงเวลา เดือนเมษายน
(วันเพ็ญเดือนห้า)ทุกปีจะมีปรากฏการณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี
คือในช่วงเวลานั้นเราจะมองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นตรงตามความยาวของปราสาทเราสามารถมองลอดประตูทางด้านทิศตะวันตกฝ่ากรอบประตูต่างๆ
กว่า ๑๐ กรอบ ทะลุผ่านประตูปรางค์ประธาน และทะลุออกซุ้มประตูหน้า ความยาว ๘๘ เมตร
มองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกรอบประตูพอดี